วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2550

จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อม มีผู้ ที่มีความประพฤติไม่ดีปะปน และสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภาย ในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือและปฏิบัติตามการสร้างกฏเกณฑ์ก็เพื่อให้สมาชิกโดยส่วนรวมได้รับ ประโยชน์สูงสุดไม่ เกิดปัญหาจากผู้ใช้บางคนที่สร้างความเดือดร้อนให้
ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ข้อบังคับ ของเครือข่ายนั้นมี ความรับผิด ชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้อง รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่าง ๆ บน เครือข่ายบน ระบบคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กร ที่ผู้ใช้สังกัดอยู่ แต่เป็นการเชื่อม โยงของเครือข่ายต่าง ๆ เข้าหากันหลายพันหลายหมื่นเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารวิ่ง อยู่ระหว่างเครือข่ายเป็นจำนวนมาก การ ส่งข่าวสาร ในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่ายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก หรือแม้แต่การส่ง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่ง ก็อาจจะต้องเดินทางผ่านเครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง ดังนั้นผู้ใช้บริการ อินเทอร์เน็ต ต้องให้ความสำคัญ และตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสารที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย
ในฐานะที่เป็นผู้ใช้งาน คุณได้รับสิทธิ์ให้เข้าใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต แต่อย่างไรก็ดีจะต้องเข้าใจ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่แต่ละ เครือข่ายย่อยวางไว้ด้วย ไม่พึงละเมิดสิทธิ์หรือกระทำการใด ๆ ที่สร้างปัญหา หรือไม่เคารพกฎเกณฑ์ที่แต่ละ เครือข่ายวางไว้ และจะต้องปฏิบัติตาม คำแนะนำของผู้บริหารเครือข่ายย่อย ๆ นั้นอย่างเคร่งครัด
การใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และเป็นประโยชน์ ร่วมกันอย่างดี กิจกรรม บางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยงเช่น การส่งกระจายข่าวลืม ไปเป็นจำนวนมากบนเครือข่าย การกระจาย ข่าวแบบส่ง กระจาย ไปยังปลายทางจำนวนมาก การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้ และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต
เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข จึงมีผู้พยายามรวบรวมกฎกติกามารยาท และวางเป็นจรรยา บรรณอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า Netiquette
ข้อมูลและข้อความในเรื่องจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ตนี้ ได้เรียบเรียงมาจากบทความบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ตของ มหาวิทยาลัยฟอร์ริดาแอตแลนติก โดยผู้รวบรวมชื่อ Arlene H.Rinaldi นอกจากนี้ยังได้ รวบรวมจากข้อคิดเห็น และการ เสนอ ข่าวในยูสเน็ตนิวส์

พัฒนาการของ Internet

อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่พัฒนามาจากอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency : ARPA ) ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา อาร์พาเน็ตเป็นเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยทางด้านทหารที่มีผลมาจากสงครามเย็นระหว่างกลุ่มประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์กับค่ายเสรีประชาธิปไตย ซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้นำในค่ายเสรีประชาธิปไตยที่ต้องพัฒนาเทคโนโลยีด้านการทหารให้ล้ำหน้ากว่าสหภาพโซเวียต
การพัฒนาอาร์พาเน็ตได้ดำเนินการมาเป็นลำดับและได้มีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ถึงกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2512 โดยใช้มินิคอมพิวเตอร์รุ่น 316 ของฮันนีเวลล์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (host) และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการต่างกันและอยู่ในสถานที่ 4 แห่งคือ
1) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแอนเจลิส
2) สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด
3) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตา บาร์บารา
4) มหาวิทยาลัยยูทาห์
อาร์พาเน็ตเป็นเครือข่ายที่ประสบความสำเร็จอย่างมากทำให้มีหน่วยงานอีกหลายแห่งเชื่อมต่อเพิ่มมากขึ้น ทำให้อาร์พาเน็ตกลายเป็นเครือข่ายที่ใช้งานได้จริง หน่วยงานอาร์พามีการปรับปรุงใหม่ในปี พ.ศ. 2515 และเรียกชื่อใหม่ว่า ดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency : DARPA) และต่อมาได้โอนความรับผิดชอบอาร์พาเน็ตให้กับหน่วยการสื่อสารของกองทัพในปี พ.ศ. 2518
เครือข่ายอาร์พาเน็ตนั้นได้มีแผนการขยายเครือข่ายและเปิดการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นโดยใช้เกณฑ์วิธี หรือโพรโทคอล (protocol) ชื่อ คาห์น-เซอร์ฟ (Kahn-Cerf Protocol) ตามชื่อของผู้ออกแบบคือ บ๊อบ คาห์น (Bob Kahn) และวินตัน เซอร์ฟ (Vinton Cerf) ซึ่งก็คือ โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol : TCP/IP) ที่รู้จักกันในปัจจุบัน และได้กำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ต้องการต่ออินเทอร์เน็ตใช้โพรโทคอลนี้ในปี พ.ศ. 2526
ในปลายปี พ.ศ. 2526 อาร์พาเน็ตได้แบ่งออกเป็นสองเครือข่ายคือ เครือข่ายวิจัย (ARPAnet) และเครือข่ายของกองทัพ (MILNET) โดยในช่วงต้นนั้นเครือข่ายทั้งสองเป็นเครือข่ายแกนหลักสำคัญภายในทวีปอเมริกาเหนือ และในช่วงเวลาต่อมาหน่วยงานหลักของสหรัฐที่มีเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) เชื่อมต่อเข้ามา เช่น เอ็นเอฟเอสเน็ต (NFSNet) และเครือข่ายของนาซา ทำให้มีการปรับเปลี่ยนชื่อจาก อาร์พา เป็นเฟเดอรัล รีเสิร์ช อินเทอร์เน็ต และเปลี่ยนไปเป็น ทีซีพี/ไอพี อินเทอร์เน็ต จนกระทั่งเป็นอินเทอร์เน็ต ในปัจจุบัน
สำหรับประเทศไทย เริ่มเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต่อเชื่อมโยงเพื่อส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กับประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทำให้ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เชื่อมกับอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้มีโครงการที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยก็ค่อยๆ พัฒนาขึ้น

อินเตอร์เน็ตกับผลกระทบต่อสังคมไทย

อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ดังจะเห็นได้จากหนังสือพิมพ์ วารสาร รายการทางโทรทัศน์ และวิทยุต่าง ๆ ได้นำเรื่องของอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่นำเสนอต่อสาธารณะในแง่มุมต่าง ๆ มีทั้งนำเสนอในเรื่องราวที่เป็นแง่บวกและลบ จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการพิจารณากันให้ถี่ถ้วนมากยิ่งขึ้น
แนวโน้มของการเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ตนั้นมีมากยิ่งขึ้นและในรูปแบบที่หลากหลายมากกว่าเดิม การห้ามไม่ให้มีการเผยแพร่วัฒนธรรมต่างชาติเข้ามานั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นแต่ละสังคมหรือประเทศนั้นจำเป็นต้องมีการดำเนินการบางประการเพื่อให้วัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีไม่ถูกกลืนหรือสูญหายไปจากสังคม วิธีการหนึ่งก็คือการส่งเสริมและให้มีการเผยแพร่วัฒนธรรมผ่านทางสื่ออินเทอร์เน็ตซึ่งสามารถทำได้ง่ายและได้กลุ่มผู้รับข่าวสารมากยิ่งขึ้น
การใช้อินเทอร์เน็ตมีผลกระทบทั้งด้านบวกและลบ ผลกระทบทางด้านบวกเช่น สามารถได้รับความรู้และข้อมูลข่าวสารมากยิ่งขึ้น ทำให้ประชาชนมีความรู้ สามารถหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์และทันสมัย ได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต และยังทำให้สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้สะดวก รวดเร็ว และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง สำหรับผลกระทบทางด้านลบ เช่น อาจจะทำให้เยาวชนได้รับข้อมูลหรือภาพในทางที่ไม่ดีได้ ดังนั้นผู้ปกครองจำเป็นต้องช่วยดูแลบุตรหลานในการใช้อินเทอร์เน็ต เช่นดูแลให้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยและใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือการสนทนาบนเครือข่าย แต่อย่างไรก็ตามต้องใช้ด้วยความรอบคอบ ควรตระหนักถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ใช้สนทนาในเรื่องที่เป็นประโยชน์ และต้องตระหนักถึงความจำเป็นและความเหมาะในเรื่องของเวลาและเนื้อหาที่ใช้ในการสนทนาด้วย
ข้อควรระวัง การใช้งานอินเทอร์เน็ตในการส่งข้อมูลอาจจะทำให้เกิดความไม่เสมอภาคกันในเรื่องของการรับข้อมูลข่าวสารได้ ยกตัวอย่าง เช่น ในขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เผยแพร่ข้อมูลเรื่องโรคระบาดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คนที่อาศัยอยู่ในเมืองสามารถรับทราบข่าวนี้ได้และมีการเตรียมตัวเพื่อป้องกันโรคระบาดเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นกับตน แต่คนที่อาศัยอยู่ในชนบทไม่สามารถรับข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตได้ อาจจะเนื่องจากไม่มีอุปกรณ์ เทคโนโลยี และความรู้ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้ไม่สามารถเตรียมตัวป้องกันและติดโรคระบาดนี้ในที่สุด จะเห็นว่าจากตัวอย่างนี้ เป็นผลกระทบของอินเทอร์เน็ตในเรื่องของความเสมอภาคในการรับข้อมูลข่าวสาร
ฉะนั้นการใช้อินเทอร์เน็ตต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและนำเสนอให้คนทั่วไปเข้าใจว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงสื่อหนึ่งเหมือนกับสื่อทั่วไป สื่อจะดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้ใช้

มารยาทในการใช้งานอินเตอร์เน็ต

การเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตของแต่ละคนมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน บางคนต้องการเพียงส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ บางคนต้องการอ่านข่าว หรือประกาศข่าว บางคนต้องการใช้สำหรับติดต่อสื่อสาร บางคนต้องการค้นหาข้อมูล หรือดาวน์โหลดโปรแกรม การใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นการใช้งานในกลุ่มบุคคลที่หลากหลาย ดังนั้นการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้นั้นอาจส่งผลกระทบต่อผู้ใช้อื่นด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม นับว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ผู้ใช้งานทุกคนจึงจำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องของมารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต

เนื่องจากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน ทำให้การส่งข่าวสารถึงกันอาจจะสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นได้ และเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์กรจึงมีข้อปฏิบัติให้สมาชิกได้ใช้เครือข่ายร่วมกัน สมาชิกจึงต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจในข้อบังคับนั้นและต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่ใช้บริการต่างๆ บนเครือข่าย และไม่ละเมิดหรือกระทำการใดๆ ที่สร้างปัญหาและไม่เคารพกฏเกณฑ์ที่แต่ละองค์กรวางไว้ และจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้บริหารเครือข่ายย่อยหรือองค์กรนั้นอย่างเคร่งครัด เครือข่ายไม่ได้เป็นขององค์กรเดียว แต่เป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน ทำให้มีข้อมูลข่าวสารเดินทางอยู่บนเครือข่ายเป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้ใช้บริการบนอินเทอร์เน็ตต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาของข้อมูลข่าวสารที่เดินทางอยู่บนเครือข่าย
เพื่อประโยชน์ในการใช้อินเทอร์เน็ต ควรใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ ซึ่งมีกิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติ เช่น การกระจายข้อมูลไปยังปลายทางเป็นจำนวนมาก และการส่งจดหมายลูกโซ่ เป็นต้น

อินเตอร์เน็ตกับการเรียนรู้

หากเปรียบอินเทอร์เน็ตเป็นห้องสมุดแล้ว ก็คงเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลอยู่อย่างหลากหลายและมีโปรแกรมค้นหาทำหน้าที่เป็นเหมือนกับเป็นดัชนีช่วยในการค้นหา ข้อมูลการศึกษาในประเทศไทยนั้นมีหลายหน่วยงานได้ทำโครงการสร้างแหล่งข้อมูลความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน อย่างเช่น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดทำเว็บไซด์สำหรับครูผู้สอนหรือนักเรียนที่สนใจศึกษาความรู้ในวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ ทั้งยังเผยแพร่ความรู้และข่าวสารสำหรับการอบรมต่างๆ ทั้งนี้มีทั้งเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นวิชาการทั้งในและนอกตำราเรียน รวมถึงเรื่องราวที่น่าสนใจอีกด้วย

ภาพตัวอย่างเวิลด์ไวด์เว็บ ที่มีบริการห้องสมุด

ตัวอย่างเวิลด์ไวด์เว็บ ที่มีบริการห้องสมุด
·
http://kanchanapisek.or.th/(1)
·
http://kanchanapisek.or.th/(2)
·
http://www.school.net.th/
·
http://dharma.school.net.th/
·
http://www.vcharkarn.com/
·
http://www.dlf.ac.th

อย่างไรก็ตามข้อมูลในอินเทอร์เน็ตนั้นมีมากทั้งข้อมูลที่ถูกต้องเป็นประโยชน์และข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและอาจเป็นภัยต่อสังคมหรือผู้อื่นก็เป็นได้ ดังนั้นการใช้ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตนั้นจำเป็นต้องพิจารณาความเหมาะสมและถูกต้องโดยต้องเปรียบเทียบข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแหล่งข้อมูลที่มีชื่อเสียงและเชื่อถือได้ การวิเคราะห์นั้นจำเป็นต้องใช้ความรู้ ประสบการณ์ทั้งของตนเองและผู้ที่มีความรู้ว่าข้อมูลนั้นมีความถูกต้องหรือเชื่อถือได้เพียงใด

บราวเซอร์

บราวเซอร์เป็นโปรแกรมที่อ่านเอกสารมาแสดงบนจอภาพ โปรแกรมบราวเซอร์ทำงานโดยใช้โพรโทคอลพิเศษเรียกว่า เอชทีทีพี (HyperText Transport Protocol : HTTP) ในการติดต่อขอข้อมูลจากตัวบริการเว็บ (web server) และแสดงข้อมูลตามรูปแบบรหัสของภาษาเอชทีเอ็มแอล (HyperText Markup Language : HTML)

การประยุกต์ใช้งานอินเตอร์เน็ต 2

3) การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล (telnet) การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย ทำให้เราสามารถติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสถานีบริการในที่ห่างไกลได้ถ้าสถานีบริการนั้นยินยอม ทำให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปประมวลผลยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเช่นนักเรียนในประเทศไทยส่งโปรแกรมไปประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่บริษัทในประเทศญี่ปุ่นผ่านทางระบบเครือข่ายโดยไม่ต้องเดินทางไปเอง


โปรแกรมเชื่อมโยงกับเครื่องที่อยู่ห่างไกล

4) การเรียกค้นข้อมูลข่าวสาร (search engine) ปัจจุบันมีฐานข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ให้ใช้งานจำนวนมาก ฐานข้อมูลบางแห่งเก็บข้อมูลในรูปสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้สามารถเรียกอ่าน หรือนำมาพิมพ์ ฐานข้อมูลนี้จึงมีลักษณะเหมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่ายที่สามารถค้นหาข้อมูลใดๆ ก็ได้ ฐานข้อมูลในลักษณะนี้เรียกว่า เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก

ภาพของเวิลด์ไวด์เว็บ ที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูล
ตัวอย่างเวิลด์ไวด์เว็บ ที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูล
·
http://www.google.co.th/
·
http://www.yahoo.com
·
http://search.lycos.com/
·
http://www.teoma.com/
·
http://www.excite.com/
·
http://www.altavista.com/
·
http://search.msn.com/
·
http://www.overture.com/

ตัวอย่างสารานุกรม
·
http://www.britannica.com/
·
http://www.m-w.com/
·
http://dictionary.reference.com/


5) การอ่านจากกลุ่มข่าว (usenet) ภายในอินเทอร์เน็ตมีกลุ่มข่าวเป็นกลุ่มๆ แยกตามความสนใจ แต่ละกลุ่มข่าวอนุญาตให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่งข้อความไปได้ และหากผู้ใดต้องการเขียน โต้ตอบก็สามารถเขียนตอบได้ กลุ่มข่าวนี้จึงแพร่หลายและกระจายข่าวได้รวดเร็ว

ภาพกลุ่มข่าว usenet




ตััวอย่างการอ่านจากกลุ่มข่าว (usenet)
·
http://groups.google.com/
·
http://www.usenet.com/

6) การสนทนาบนเครือข่าย (chat) เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อถึงกันได้ทั่วโลก ผู้ใช้จึงสามารถใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลางในการติดต่อสนทนากันได้ ในยุคแรกใช้วิธีการสนทนากันด้วยตัวหนังสือ เพื่อโต้ตอบกันแบบทันทีทันใดบนจอภาพ ต่อมามีผู้พัฒนาให้ใช้เสียงได้ จนถึงปัจจุบัน ถ้าระบบสื่อสารข้อมูลมีความเร็วพอ ก็สามารถสนทนาโดยที่เห็นหน้ากันและกันบนจอภาพได้
ภาพการใช้โปรแกรมสนทนาบนเครือข่าย (chat)
7) การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย เป็นการประยุกต์เพื่อให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ปัจจุบันมีผู้ตั้งสถานีวิทยุบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหลายร้อยสถานี ผู้ใช้สามารถเลือกสถานีที่ต้องการและได้ยินเสียงเหมือนการเปิดฟังวิทยุ ขณะเดียวกันก็มีการส่งกระจายภาพวีดิทัศน์บนเครือข่ายด้วย แต่ปัญหายังอยู่ที่ความเร็วของเครือข่ายที่ยังไม่สามารถรองรับการส่งข้อมูลจำนวนมาก ทำให้คุณภาพของภาพวีดิทัศน์ยังไม่ดีเท่าที่ควร

การประยุกต์ใช้งานอินเตอร์เน็ต

รูปแบบการเชื่อมต่อ
การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตย่อยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลและกฏเกณฑ์ ซึ่งเป็นตัวกำหนดวิธีการรับส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง รูปแบบสื่อสารในเครือข่ายจำแนกได้ 2 ประเภท คือ

1.เครือข่ายแบบสลับวงจร (Circuit – switched network) เป็นเครือข่ายที่อาศัยอุปกรณ์สลับสายทำหน้าที่เชื่อมการสื่อสารระหว่างจุด จุดเข้าด้วยกัน ก่อนการสื่อสารจะเริ่มต้นขึ้นได้จะต้องเชื่อมเส้นทางให้เสร็จสิ้นก่อน เมื่อเชื่อมต่อได้สำเร็จแล้วการสื่อสารจึงเริ่มดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและเส้นทางหรือคู่สายนั้นจะถูกยึดใช้ได้โดยคู่สนทนาตลอดเวลา โดยบุคคลอื่นไม่สามารถก้าวก่ายในการใช้สายได้ จนกว่าจะจบสิ้นการใช้งาน

2.เครือข่ายแบบสลับกลุ่มข้อมูล (Packet switched network) เครือข่ายแบบสลับกลุ่มข้อมูลใช้เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ โดยไม่มีการเชื่อมต่อที่ถาวรใดๆ ระหว่างผู้รับและผู้ส่ง เส้นทางการเชื่อมต่อมีหลายเส้นทางและจะไม่มีใครเป็นเจ้าของเส้นทางใดอย่างเป็นเอกเทศ ข้อมูลที่วิ่งไปตามสายในเครือข่ายแบบสลับกลุ่ม ข้อมูลย่อยหรือเรียกว่า แพ็กเกจ ก่อนที่จะส่งออกไป แพ็กเกจแต่ละแพ็กเกจ อาจถูกจัดสรรให้ประกอบด้วยข้อมูลขนาดตั้งแต่ 1 ไบต์ ไปถึงหลายร้อยไบต์ร่วมกับรายละเอียดส่วนอื่นๆ เช่นชื่อคอมพิวเตอร์ ผู้ส่ง ผู้รับ และหมายเลขประจำตัวของ แพ็กเกจ สำหรับบอกลำดับของข้อมูล เป็นต้น

เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงเครือข่ายทั่วโลกให้สามารถติดต่อถึงกันได้หมดจนกลายเป็นเครือข่ายของโลก ดังนั้นจึงมีผู้ใช้งานบนเครือข่ายนี้จำนวนมาก การใช้งานเหล่านี้เป็นสิ่งที่กำลังได้รับการกล่าวถึงกันทั่วไป เพราะการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้โลกไร้พรมแดน ข้อมูลข่าวสารต่างๆ สามารถสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่แพร่หลายและใช้กันมากเท่านั้น ยังมีการประยุกต์งานอื่นที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา
1) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail) เป็นการส่งข้อความติดต่อกันระหว่างบุคคลกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลก็ได้ หากเปรียบเทียบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กับไปรษณีย์ธรรมดาจะพบว่าโดยหลักการนั้นไม่แตกต่างกันมากนัก ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนบุรุษไปรษณีย์ให้เป็นโปรแกรม เปลี่ยนเส้นทางเป็นระบบเครือข่าย และเปลี่ยนรูปแบบการจ่าหน้าซองจดหมายให้เป็นการจ่าหน้าแบบอ้างอิงระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (email address) การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีรูปแบบที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว
หากต้องการส่งข้อความถึงใครก็สามารถเขียนเป็นเอกสาร แล้วจ่าหน้าซองที่อยู่ของผู้รับ ระบบจะนำส่งให้ทันทีอย่างรวดเร็ว ลักษณะของที่อยู่จะเป็นชื่อรหัสผู้ใช้และชื่อเครื่องประกอบกันเช่น sombat@ipst.ac.th การติดต่อบนอินเทอร์เน็ตนี้ ระบบจะหาตำแหน่งให้เองโดยอัตโนมัติ และนำส่งไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง การรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
ปัจจุบันข้อมูลที่ส่งผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นข้อมูลแบบใดก็ได้ที่อยู่ในรูปแบบของดิจิทัล (digital) และสามารถใช้ภาษาอะไรก็ได้ ตัวอย่างดังรูปไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นภาษาญี่ปุ่น

ข้อความที่เป็นภาษาญี่ปุ่นที่ส่งผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
2) การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน (File Transfer Protocol : FTP) เป็นระบบที่ทำให้ ผู้ใช้สามารถรับส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างกันหรือมีสถานีให้บริการเก็บแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในที่ต่างๆ และให้บริการ ผู้ใช้สามารถเข้าไปคัดเลือกนำแฟ้มข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น โปรแกรม cuteFTP โปรแกรม wsFTP เป็นต้น

ชื่อและเลขที่อยู่ไอพี

คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ต่ออยู่บนอินเทอร์เน็ตจะมีเลขที่อยู่ไอพี (IP address) และแต่ละเครื่องทั่วโลกจะต้องมีเลขที่อยู่ไอพีไม่ซ้ำกัน เลขที่อยู่ไอพีนี้จะได้รับการกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ให้ แต่ละองค์กรนำไปปฏิบัติ เพื่อให้ระบบการเรียกชื่อง่ายขึ้นและการบริหารเครือข่ายทำได้ดี จึงมีการกำหนดชื่อแทนเลขที่อยู่ไอพี เรียกว่า ชื่อโดเมน โดยจะมีการตั้งชื่อสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่บนเครือข่าย เช่น ipst.ac.th ซึ่งใช้แทนเลขที่อยู่ไอพี 203.108.2.71 การกำหนดให้มีการใช้ระบบชื่อโดเมนมีการกำหนดรูปแบบเป็นลำดับชั้น เช่น

ipst.ac.th

ระดับที่หนึ่ง th หมายถึง ประเทศไทย
ระดับที่สอง ac หมายถึง หน่วยงานสถาบันการศึกษา
ระดับที่สาม ipst หมายถึง ชื่อเครื่อง

ชื่อโดเมนระดับสอง ความหมาย
ac (academic) สถาบันการศึกษา
co (company) บริษัท ห้างร้าน
go (government) หน่วยงานของรัฐบาล
or (organization) องค์กรที่ไม่แสวงกำไร
in (individual) ส่วนบุคคล
mi (military) หน่วยงานทางทหาร
Net (network) ผู้ให้บริการเครือข่าย

ความหมายของโดเมน
.com กลุ่มองค์การค้า (Commercial )
.edu กลุ่มองค์การการศึกษา (education)
.gov กลุ่มองค์การรัฐบาล (Govermental)
.mit กลุ่มองค์การทหาร (Military)
.net กลุ่มองค์กรบริการเครือข่าย (Network Services)
.org กลุ่มองค์กรอื่นๆ (Organizations)

โดเมนที่เป็นชื่อของประเทศที่น่าสนใจ เช่น enet.moe.go.th
.au ออสเตรเลีย (Australia)
.fr ฝรั่งเศส (France)
.hk ฮ่องกง (Hong Kong)
.jp ญี่ปุ่น (Japan)
.th ไทย (Thailand)
.sg สิงคโปร์ (Singapore)
.uk อังกฤษ (United Kingdom)

ความหมายของโดเมนย่อย(ชื่อของหน่วยงาน)
.go หน่วยงานรัฐบาล (govermental)
.ac สถาบันการศึกษา (acadamic)
.co องค์กรธุรกิจ (commercial)
.or องค์กรอื่นๆ (organizations)

ในการติดต่อกับผู้ใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ใดบนเครือข่าย จะใช้ชื่อผู้ใช้ของผู้นั้นตามด้วยชื่อเครื่อง แต่คั่นด้วยเครื่องหมาย @ เช่น ถ้าต้องการติดต่อกับผู้ใช้ชื่อ apirak บนเครื่อง ipst.ac.th ก็ใช้ที่อยู่ดังนี้ apirakt@ipst.ac.th

การเติบโตของ Internet

อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่มีอัตราการเติบโตเร็วมาก จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายในอินเทอร์เน็ตในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2524 มีเพียง 213 เครื่องต่อมาในเดือนธันวาคม 2530 มีการสำรวจโดยใช้ระบบโดเมนเดิม พบว่าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายได้เพิ่มขึ้นเป็น 28,174 เครื่อง และในการสำรวจครั้งหลังสุดในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2545 มีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายทั้งสิ้น 162,128,493 เครื่อง และอัตราการเพิ่มของจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง
อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ครอบคลุมไปทั่วโลกซึ่งเกิดจากการเชื่อมโยงของเครือข่ายย่อยจำนวนมากที่กระจายอยู่ทั่วไป เครือข่ายเหล่านี้เชื่อมเข้าหากันภายใต้กฏเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน (Protocol) จนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ โดยใช้มาตราฐานการเชื่อมต่อเดียวกันทั้งหมดเรียกว่า " ทีซีพี/ไอพี " ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันทางเทคโนโลยี สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันได้
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตนับเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการทำให้การเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการภายในเวลาอันรวดเร็ว ทั้งยังเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก เป็นที่รวมของการบริการ และเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งระดับบุคคลและ องค์กร นอกจากนี้ยังมีการให้บริการข้อมูลและข่าวสารหลากหลายชนิดรวมถึงยังสามารถใช้งานด้านอื่นๆ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาตลอดเวลา เช่น การรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail) การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน (FTP) การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ห่างไกลกัน(Telnet) การค้นหาข้อมูลข่าวสาร (Search engine) การอ่านข่าวจากทุกมุมโลก การสนทนาบนเครือข่าย และการรับบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมถึงกันโดยใช้ ทีซีพี/ไอพี และมุ่งหวังให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าสูงสุด

Internet คืออะไร ?

1. ความหมายของอินเตอร์เน็ต
“อินเตอร์เน็ต” มาจากคำว่า International Network เป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน
คำว่า “เครือข่าย” หมายถึง
1. การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล (ทางตรง) และหรือสายโทรศัพท์ (ทางอ้อม)
2. มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์
3. มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน
2. หน้าที่และความสำคัญของอินเตอร์เน็ต
การสื่อสารในยุคปัจจุบันที่กล่าวขานกันว่าเป็นยุคไร้พรมแดนนั้น การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของทุกหน่วยงาน และอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวได้ จึงเป็นความจำเป็นที่ทุกคนต้องให้ความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่นี้ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างเต็มที่
อินเตอร์เน็ต ถือเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สากลที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ภายใต้มาตรฐานการสื่อสารเดียวกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารและสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่ายต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งรวมสารสนเทศจากทุกมุมโลก ทุกสาขาวิชา ทุกด้าน ทั้งบันเทิงและวิชาการ ตลอดจนการประกอบธุรกิจต่างๆ
เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลายคือ
1. การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต ไม่จำกัดระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบปฏิบัติการกันก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
2. อินเตอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารเดียวกันห่างกันคนละทวีป ข้อมูลก็สามารถส่งผ่านถึงกันได้
3. อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียว หรืออาจมีภาพประกอบ รวมไปถึงข้อมูลชนิดมัลติมีเดีย คือมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบด้วยได้
คำอื่นที่ใช้ในความหมายเดียวกับอินเตอร์เน็ต คือ Information Superhighway และ Cyberspace

3. อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
ประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตในพ.ศ. 2535 โดยเริ่มที่สำนัก วิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ 2 วงจร หน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรกๆ ได้แก่สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่นๆ
สำหรับภาคเอกชน ได้มีการก่อตั้งบริษัทสำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่เอกชนและบุคคลทั่วไปที่นิยมเรียกกันว่า ISP (Internet Service Providers) หลายราย เช่น ศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย (Internet Thailand) บริษัทเคเอสซีคอมเมอร์เชียลอินเตอร์เน็ตจำกัด (Internet KSC) บริษัทล็อกซเลย์อินฟอร์เมชันจำกัด (Loxinfo) เป็นต้น โดยในการพิจารณาเลือกใช้บริการจาก ISP เอกชนเหล่านี้ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ
1. อัตราค่าใช้จ่ายโดยรวม ทั้งค่าสมัครเป็นสมาชิกและค่าใช้จ่ายเป็นรายครั้ง รายเดือน หรือรายปี
2. คำนวนคู่สายโทรศัพท์ ว่ามีให้ใช้ติดต่อมากเพียงพอหรือไม่ เพราะถ้ามีไม่มากก็จะเสียเวลารอคอยนานกว่าจะเชื่อมต่อได้
3. ความเร็วของสายที่ใช้
4. พื้นที่ในการให้บริการ ควรเลือกใช้ ISP ที่อยู่ในจังหวัด หรือพื้นที่ใกล้เคียงจะเหมาะสมกว่า เพราะ ISP ส่วนใหญ่มักให้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร