วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2550

จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อม มีผู้ ที่มีความประพฤติไม่ดีปะปน และสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภาย ในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือและปฏิบัติตามการสร้างกฏเกณฑ์ก็เพื่อให้สมาชิกโดยส่วนรวมได้รับ ประโยชน์สูงสุดไม่ เกิดปัญหาจากผู้ใช้บางคนที่สร้างความเดือดร้อนให้
ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ข้อบังคับ ของเครือข่ายนั้นมี ความรับผิด ชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้อง รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่าง ๆ บน เครือข่ายบน ระบบคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กร ที่ผู้ใช้สังกัดอยู่ แต่เป็นการเชื่อม โยงของเครือข่ายต่าง ๆ เข้าหากันหลายพันหลายหมื่นเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารวิ่ง อยู่ระหว่างเครือข่ายเป็นจำนวนมาก การ ส่งข่าวสาร ในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่ายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก หรือแม้แต่การส่ง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่ง ก็อาจจะต้องเดินทางผ่านเครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง ดังนั้นผู้ใช้บริการ อินเทอร์เน็ต ต้องให้ความสำคัญ และตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสารที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย
ในฐานะที่เป็นผู้ใช้งาน คุณได้รับสิทธิ์ให้เข้าใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต แต่อย่างไรก็ดีจะต้องเข้าใจ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่แต่ละ เครือข่ายย่อยวางไว้ด้วย ไม่พึงละเมิดสิทธิ์หรือกระทำการใด ๆ ที่สร้างปัญหา หรือไม่เคารพกฎเกณฑ์ที่แต่ละ เครือข่ายวางไว้ และจะต้องปฏิบัติตาม คำแนะนำของผู้บริหารเครือข่ายย่อย ๆ นั้นอย่างเคร่งครัด
การใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และเป็นประโยชน์ ร่วมกันอย่างดี กิจกรรม บางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยงเช่น การส่งกระจายข่าวลืม ไปเป็นจำนวนมากบนเครือข่าย การกระจาย ข่าวแบบส่ง กระจาย ไปยังปลายทางจำนวนมาก การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้ และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต
เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข จึงมีผู้พยายามรวบรวมกฎกติกามารยาท และวางเป็นจรรยา บรรณอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า Netiquette
ข้อมูลและข้อความในเรื่องจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ตนี้ ได้เรียบเรียงมาจากบทความบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ตของ มหาวิทยาลัยฟอร์ริดาแอตแลนติก โดยผู้รวบรวมชื่อ Arlene H.Rinaldi นอกจากนี้ยังได้ รวบรวมจากข้อคิดเห็น และการ เสนอ ข่าวในยูสเน็ตนิวส์

พัฒนาการของ Internet

อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่พัฒนามาจากอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency : ARPA ) ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา อาร์พาเน็ตเป็นเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยทางด้านทหารที่มีผลมาจากสงครามเย็นระหว่างกลุ่มประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์กับค่ายเสรีประชาธิปไตย ซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้นำในค่ายเสรีประชาธิปไตยที่ต้องพัฒนาเทคโนโลยีด้านการทหารให้ล้ำหน้ากว่าสหภาพโซเวียต
การพัฒนาอาร์พาเน็ตได้ดำเนินการมาเป็นลำดับและได้มีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ถึงกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2512 โดยใช้มินิคอมพิวเตอร์รุ่น 316 ของฮันนีเวลล์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (host) และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการต่างกันและอยู่ในสถานที่ 4 แห่งคือ
1) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแอนเจลิส
2) สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด
3) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตา บาร์บารา
4) มหาวิทยาลัยยูทาห์
อาร์พาเน็ตเป็นเครือข่ายที่ประสบความสำเร็จอย่างมากทำให้มีหน่วยงานอีกหลายแห่งเชื่อมต่อเพิ่มมากขึ้น ทำให้อาร์พาเน็ตกลายเป็นเครือข่ายที่ใช้งานได้จริง หน่วยงานอาร์พามีการปรับปรุงใหม่ในปี พ.ศ. 2515 และเรียกชื่อใหม่ว่า ดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency : DARPA) และต่อมาได้โอนความรับผิดชอบอาร์พาเน็ตให้กับหน่วยการสื่อสารของกองทัพในปี พ.ศ. 2518
เครือข่ายอาร์พาเน็ตนั้นได้มีแผนการขยายเครือข่ายและเปิดการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นโดยใช้เกณฑ์วิธี หรือโพรโทคอล (protocol) ชื่อ คาห์น-เซอร์ฟ (Kahn-Cerf Protocol) ตามชื่อของผู้ออกแบบคือ บ๊อบ คาห์น (Bob Kahn) และวินตัน เซอร์ฟ (Vinton Cerf) ซึ่งก็คือ โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol : TCP/IP) ที่รู้จักกันในปัจจุบัน และได้กำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ต้องการต่ออินเทอร์เน็ตใช้โพรโทคอลนี้ในปี พ.ศ. 2526
ในปลายปี พ.ศ. 2526 อาร์พาเน็ตได้แบ่งออกเป็นสองเครือข่ายคือ เครือข่ายวิจัย (ARPAnet) และเครือข่ายของกองทัพ (MILNET) โดยในช่วงต้นนั้นเครือข่ายทั้งสองเป็นเครือข่ายแกนหลักสำคัญภายในทวีปอเมริกาเหนือ และในช่วงเวลาต่อมาหน่วยงานหลักของสหรัฐที่มีเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) เชื่อมต่อเข้ามา เช่น เอ็นเอฟเอสเน็ต (NFSNet) และเครือข่ายของนาซา ทำให้มีการปรับเปลี่ยนชื่อจาก อาร์พา เป็นเฟเดอรัล รีเสิร์ช อินเทอร์เน็ต และเปลี่ยนไปเป็น ทีซีพี/ไอพี อินเทอร์เน็ต จนกระทั่งเป็นอินเทอร์เน็ต ในปัจจุบัน
สำหรับประเทศไทย เริ่มเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต่อเชื่อมโยงเพื่อส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กับประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทำให้ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เชื่อมกับอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้มีโครงการที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยก็ค่อยๆ พัฒนาขึ้น

อินเตอร์เน็ตกับผลกระทบต่อสังคมไทย

อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ดังจะเห็นได้จากหนังสือพิมพ์ วารสาร รายการทางโทรทัศน์ และวิทยุต่าง ๆ ได้นำเรื่องของอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่นำเสนอต่อสาธารณะในแง่มุมต่าง ๆ มีทั้งนำเสนอในเรื่องราวที่เป็นแง่บวกและลบ จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการพิจารณากันให้ถี่ถ้วนมากยิ่งขึ้น
แนวโน้มของการเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ตนั้นมีมากยิ่งขึ้นและในรูปแบบที่หลากหลายมากกว่าเดิม การห้ามไม่ให้มีการเผยแพร่วัฒนธรรมต่างชาติเข้ามานั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นแต่ละสังคมหรือประเทศนั้นจำเป็นต้องมีการดำเนินการบางประการเพื่อให้วัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีไม่ถูกกลืนหรือสูญหายไปจากสังคม วิธีการหนึ่งก็คือการส่งเสริมและให้มีการเผยแพร่วัฒนธรรมผ่านทางสื่ออินเทอร์เน็ตซึ่งสามารถทำได้ง่ายและได้กลุ่มผู้รับข่าวสารมากยิ่งขึ้น
การใช้อินเทอร์เน็ตมีผลกระทบทั้งด้านบวกและลบ ผลกระทบทางด้านบวกเช่น สามารถได้รับความรู้และข้อมูลข่าวสารมากยิ่งขึ้น ทำให้ประชาชนมีความรู้ สามารถหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์และทันสมัย ได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต และยังทำให้สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้สะดวก รวดเร็ว และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง สำหรับผลกระทบทางด้านลบ เช่น อาจจะทำให้เยาวชนได้รับข้อมูลหรือภาพในทางที่ไม่ดีได้ ดังนั้นผู้ปกครองจำเป็นต้องช่วยดูแลบุตรหลานในการใช้อินเทอร์เน็ต เช่นดูแลให้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยและใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือการสนทนาบนเครือข่าย แต่อย่างไรก็ตามต้องใช้ด้วยความรอบคอบ ควรตระหนักถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ใช้สนทนาในเรื่องที่เป็นประโยชน์ และต้องตระหนักถึงความจำเป็นและความเหมาะในเรื่องของเวลาและเนื้อหาที่ใช้ในการสนทนาด้วย
ข้อควรระวัง การใช้งานอินเทอร์เน็ตในการส่งข้อมูลอาจจะทำให้เกิดความไม่เสมอภาคกันในเรื่องของการรับข้อมูลข่าวสารได้ ยกตัวอย่าง เช่น ในขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เผยแพร่ข้อมูลเรื่องโรคระบาดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คนที่อาศัยอยู่ในเมืองสามารถรับทราบข่าวนี้ได้และมีการเตรียมตัวเพื่อป้องกันโรคระบาดเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นกับตน แต่คนที่อาศัยอยู่ในชนบทไม่สามารถรับข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตได้ อาจจะเนื่องจากไม่มีอุปกรณ์ เทคโนโลยี และความรู้ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้ไม่สามารถเตรียมตัวป้องกันและติดโรคระบาดนี้ในที่สุด จะเห็นว่าจากตัวอย่างนี้ เป็นผลกระทบของอินเทอร์เน็ตในเรื่องของความเสมอภาคในการรับข้อมูลข่าวสาร
ฉะนั้นการใช้อินเทอร์เน็ตต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและนำเสนอให้คนทั่วไปเข้าใจว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงสื่อหนึ่งเหมือนกับสื่อทั่วไป สื่อจะดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้ใช้

มารยาทในการใช้งานอินเตอร์เน็ต

การเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตของแต่ละคนมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน บางคนต้องการเพียงส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ บางคนต้องการอ่านข่าว หรือประกาศข่าว บางคนต้องการใช้สำหรับติดต่อสื่อสาร บางคนต้องการค้นหาข้อมูล หรือดาวน์โหลดโปรแกรม การใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นการใช้งานในกลุ่มบุคคลที่หลากหลาย ดังนั้นการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้นั้นอาจส่งผลกระทบต่อผู้ใช้อื่นด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม นับว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ผู้ใช้งานทุกคนจึงจำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องของมารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต

เนื่องจากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน ทำให้การส่งข่าวสารถึงกันอาจจะสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นได้ และเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์กรจึงมีข้อปฏิบัติให้สมาชิกได้ใช้เครือข่ายร่วมกัน สมาชิกจึงต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจในข้อบังคับนั้นและต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่ใช้บริการต่างๆ บนเครือข่าย และไม่ละเมิดหรือกระทำการใดๆ ที่สร้างปัญหาและไม่เคารพกฏเกณฑ์ที่แต่ละองค์กรวางไว้ และจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้บริหารเครือข่ายย่อยหรือองค์กรนั้นอย่างเคร่งครัด เครือข่ายไม่ได้เป็นขององค์กรเดียว แต่เป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน ทำให้มีข้อมูลข่าวสารเดินทางอยู่บนเครือข่ายเป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้ใช้บริการบนอินเทอร์เน็ตต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาของข้อมูลข่าวสารที่เดินทางอยู่บนเครือข่าย
เพื่อประโยชน์ในการใช้อินเทอร์เน็ต ควรใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ ซึ่งมีกิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติ เช่น การกระจายข้อมูลไปยังปลายทางเป็นจำนวนมาก และการส่งจดหมายลูกโซ่ เป็นต้น

อินเตอร์เน็ตกับการเรียนรู้

หากเปรียบอินเทอร์เน็ตเป็นห้องสมุดแล้ว ก็คงเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลอยู่อย่างหลากหลายและมีโปรแกรมค้นหาทำหน้าที่เป็นเหมือนกับเป็นดัชนีช่วยในการค้นหา ข้อมูลการศึกษาในประเทศไทยนั้นมีหลายหน่วยงานได้ทำโครงการสร้างแหล่งข้อมูลความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน อย่างเช่น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดทำเว็บไซด์สำหรับครูผู้สอนหรือนักเรียนที่สนใจศึกษาความรู้ในวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ ทั้งยังเผยแพร่ความรู้และข่าวสารสำหรับการอบรมต่างๆ ทั้งนี้มีทั้งเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นวิชาการทั้งในและนอกตำราเรียน รวมถึงเรื่องราวที่น่าสนใจอีกด้วย

ภาพตัวอย่างเวิลด์ไวด์เว็บ ที่มีบริการห้องสมุด

ตัวอย่างเวิลด์ไวด์เว็บ ที่มีบริการห้องสมุด
·
http://kanchanapisek.or.th/(1)
·
http://kanchanapisek.or.th/(2)
·
http://www.school.net.th/
·
http://dharma.school.net.th/
·
http://www.vcharkarn.com/
·
http://www.dlf.ac.th

อย่างไรก็ตามข้อมูลในอินเทอร์เน็ตนั้นมีมากทั้งข้อมูลที่ถูกต้องเป็นประโยชน์และข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและอาจเป็นภัยต่อสังคมหรือผู้อื่นก็เป็นได้ ดังนั้นการใช้ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตนั้นจำเป็นต้องพิจารณาความเหมาะสมและถูกต้องโดยต้องเปรียบเทียบข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแหล่งข้อมูลที่มีชื่อเสียงและเชื่อถือได้ การวิเคราะห์นั้นจำเป็นต้องใช้ความรู้ ประสบการณ์ทั้งของตนเองและผู้ที่มีความรู้ว่าข้อมูลนั้นมีความถูกต้องหรือเชื่อถือได้เพียงใด

บราวเซอร์

บราวเซอร์เป็นโปรแกรมที่อ่านเอกสารมาแสดงบนจอภาพ โปรแกรมบราวเซอร์ทำงานโดยใช้โพรโทคอลพิเศษเรียกว่า เอชทีทีพี (HyperText Transport Protocol : HTTP) ในการติดต่อขอข้อมูลจากตัวบริการเว็บ (web server) และแสดงข้อมูลตามรูปแบบรหัสของภาษาเอชทีเอ็มแอล (HyperText Markup Language : HTML)

การประยุกต์ใช้งานอินเตอร์เน็ต 2

3) การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล (telnet) การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย ทำให้เราสามารถติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสถานีบริการในที่ห่างไกลได้ถ้าสถานีบริการนั้นยินยอม ทำให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปประมวลผลยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเช่นนักเรียนในประเทศไทยส่งโปรแกรมไปประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่บริษัทในประเทศญี่ปุ่นผ่านทางระบบเครือข่ายโดยไม่ต้องเดินทางไปเอง


โปรแกรมเชื่อมโยงกับเครื่องที่อยู่ห่างไกล

4) การเรียกค้นข้อมูลข่าวสาร (search engine) ปัจจุบันมีฐานข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ให้ใช้งานจำนวนมาก ฐานข้อมูลบางแห่งเก็บข้อมูลในรูปสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้สามารถเรียกอ่าน หรือนำมาพิมพ์ ฐานข้อมูลนี้จึงมีลักษณะเหมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่ายที่สามารถค้นหาข้อมูลใดๆ ก็ได้ ฐานข้อมูลในลักษณะนี้เรียกว่า เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก

ภาพของเวิลด์ไวด์เว็บ ที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูล
ตัวอย่างเวิลด์ไวด์เว็บ ที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูล
·
http://www.google.co.th/
·
http://www.yahoo.com
·
http://search.lycos.com/
·
http://www.teoma.com/
·
http://www.excite.com/
·
http://www.altavista.com/
·
http://search.msn.com/
·
http://www.overture.com/

ตัวอย่างสารานุกรม
·
http://www.britannica.com/
·
http://www.m-w.com/
·
http://dictionary.reference.com/


5) การอ่านจากกลุ่มข่าว (usenet) ภายในอินเทอร์เน็ตมีกลุ่มข่าวเป็นกลุ่มๆ แยกตามความสนใจ แต่ละกลุ่มข่าวอนุญาตให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่งข้อความไปได้ และหากผู้ใดต้องการเขียน โต้ตอบก็สามารถเขียนตอบได้ กลุ่มข่าวนี้จึงแพร่หลายและกระจายข่าวได้รวดเร็ว

ภาพกลุ่มข่าว usenet




ตััวอย่างการอ่านจากกลุ่มข่าว (usenet)
·
http://groups.google.com/
·
http://www.usenet.com/

6) การสนทนาบนเครือข่าย (chat) เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อถึงกันได้ทั่วโลก ผู้ใช้จึงสามารถใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลางในการติดต่อสนทนากันได้ ในยุคแรกใช้วิธีการสนทนากันด้วยตัวหนังสือ เพื่อโต้ตอบกันแบบทันทีทันใดบนจอภาพ ต่อมามีผู้พัฒนาให้ใช้เสียงได้ จนถึงปัจจุบัน ถ้าระบบสื่อสารข้อมูลมีความเร็วพอ ก็สามารถสนทนาโดยที่เห็นหน้ากันและกันบนจอภาพได้
ภาพการใช้โปรแกรมสนทนาบนเครือข่าย (chat)
7) การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย เป็นการประยุกต์เพื่อให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ปัจจุบันมีผู้ตั้งสถานีวิทยุบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหลายร้อยสถานี ผู้ใช้สามารถเลือกสถานีที่ต้องการและได้ยินเสียงเหมือนการเปิดฟังวิทยุ ขณะเดียวกันก็มีการส่งกระจายภาพวีดิทัศน์บนเครือข่ายด้วย แต่ปัญหายังอยู่ที่ความเร็วของเครือข่ายที่ยังไม่สามารถรองรับการส่งข้อมูลจำนวนมาก ทำให้คุณภาพของภาพวีดิทัศน์ยังไม่ดีเท่าที่ควร